วันเสาร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2560

ใช้อย่างไรได้บ้าง! 👰





"คำไวพจน์"
จากคำทั้งหมดที่ปรากฏ เราเรียกว่า คำไวพจน์
หมายถึง คำที่มีรูปร่างต่างกัน แต่มีความหมายเหมือนกัน เช่น คำว่า "ผู้หญิง" ใช้ สตรี กัลยา สุดาฯลฯ และเราสามารถนำมาใช้แทนกันได้ ไม่เฉพาะคำว่า ผู้หญิง ที่เป็นคำไวพจน์ คำอื่นๆก็มีเช่นกัน ซึ่งคำไวพจน์ที่นิยมใช้บ่อยที่สุด มีดังนี้

ดอกไม้ 🌷บุษบา, บุปผา, บุปผชาติ, บุหงา, บุษบง, บุษบัน, ผกา, มาลา, ผกามาศ, มาลี, สุมาลี,
สุคันธชาติ

ป่า  🌿 ชัฏ, เถื่อน, พนัส, พนา, อรัญญิก, พงพนา, ไพรวัน, พงพี, พงไพร, ไพรสัณฑ์, พนาดร, พนาลี, พนาวัน

ฟ้า  🌅 อัมพร, หาว, เวหา, โพยม, นภ, ทิฆัมพร, คคนางค์, คคนานต์, นภดล, นภา, นภาลัย,
เวหาศ

น้ำ  คงคา, นที, สินธุ์, สาคร, สมุทร, ชลาลัย, อุทก, ชโลทรพ, อาโป, หรรณพ, ชลธาร, ชลาศัย, ชลธี, ธาร, ธารา, สลิล, อรรณพ, สินธุ, รัตนากร, สาคเรศ, ธารา

ต้นไม้  🌴พฤกษ์, รุกข์, ตรุ, เฌอ, ทุม

ภูเขา   🌄 บรรพต, สิงขร, พนม, ไศล, ภู, ศิงขร, ภูผา, ศิขริน, คีรี

แผ่นดิน  🌎 หล้า, เมธินี, ภูมิ, ภพ, พสุธา, ธาษตรี, ด้าว, โลกธาตุ, ภูวดล, พิภพ, พสุธาดล, ปัถพี, ปฐวี, ปฐพี, ธราดล, ธรณี, ภูตลา, พสุนทรา, มหิ, พสุมดี

          คำไวพจน์ เป็นคำที่มีความไพเราะและงดงามทางภาษา อีกทั้งยังมีความหมายลึกซึ้ง หากนำคำไวพจน์ไปแต่งบทกลอนหรือบทกวีจะทำให้บทความนั้นมีความสละสลวยและทำให้ชวนอ่านมากขึ้น นอกจากนี้เพื่อนๆสามารถไปศีกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากสื่อต่างๆ ซึ่งจะทำให้เพื่อนๆเข้าใจมากขึ้น....
.
.

.
มาลองเป็นกวีฝึกหัดในการใช้คำไวพจน์สื่อความงดงามทางภาษากันนะคะ❤❤



👉ที่มาพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน


ภาษาไทยใช้ให้เป็น(การอ่านบ้านเลขที่) 💋



           บ้านเลขที่ที่มีเครื่องหมายทับ “/” และบ้านเลขที่ที่ไม่มีเครื่องหมายทับ “/” มีหลักการอ่านเหมือนกัน คือ บ้านเลขที่ซึ่งมีตัวเลข ๒ หลัก ให้อ่านแบบจำนวนเต็ม ถ้ามีตัวเลข ๓ หลักขึ้นไป ให้อ่านแบบเรียงตัวหรือแบบจำนวนเต็มก็ได้ ส่วนตัวเลขหลังเครื่องหมายทับ “/” ให้อ่านเรียงตัว เช่น 


บ้านเลขที่ ๑๐                 อ่านว่า บ้าน-เลก-ที่ สิบ😋 
บ้านเลขที่ ๔๑๔             อ่านว่า บ้าน-เลก-ที่ สี่-หนึ่ง-สี่ หรือ บ้าน-เลก-ที่ สี่-ร้อย-สิบ-สี่ 😗
บ้านเลขที่ ๕๖/๓๔๒     อ่านว่า บ้าน-เลก-ที่ ห้า-สิบ-หก ทับ สาม-สี่-สอง 😝
บ้านเลขที่ ๖๕๗/๒๑     อ่านว่า บ้าน-เลก-ที่ หก-ห้า-เจ็ด ทับ สอง-หนึ่ง หรือ 😵
                                       บ้าน-เลก-ที่ หก-ร้อย-ห้า-สิบ-เจ็ด ทับ-สอง- หนึ่ง 😎

กลุ่มตัวเลขที่มีเลข ๐ นำหน้า 
อ่านเรียงตัวเสมอ เช่น  บ้านเลขที่ ๐๘๖๔/๑๑๐๘ อ่านว่า 
บ้าน-เลก-ที่ สูน-แปด-หก-สี่-ทับ-หนึ่ง-หนึ่ง-สูน-แปด 😆
.
.
.
ใช้ไทย เขียนไทย รักษ์ไทย ร่วมใจรณรงค์ นะคะ❤❤



👉ที่มา : หนังสือ อ่านอย่างไร และ เขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน 
          พิมพ์ครั้งที่ ๑๖, กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ หน้า ๗๑

อ่านอย่างไร 📖 เขียนอย่างไร ✐



     คำนี้!ถ้าสังเกตดีๆเราจะพบความแตกต่างของการเขียนและการออกเสียง ซึ่งเราไม่เคยสังเกต และมักจะไม่รู้ เวลานำมาใช้ก็มักจะใช้ผิด โดยไม่คอดตริตรองให้ดี แต่สำหรับเพื่อนๆบางกลุ่มที่ใช้คำนี้ได้ถูกต้อง จะสังเกตเห็นว่าคำนี้มันต่างกันตรง สระ อะ ซึ่งไม่มีบันทึกไว้ในพจนานุกรม
      ทั้งนี้มีข้อสังเกตในการช่วยจำง่ายๆ ดังนี้ คือ คำว่า " กะทันหัน " ความหมาย คือ อะไรๆ ที่เกิดขึ้นรวดเร็ว ทันที ทันใด
ก็ไม่ควรมี ร เรือควบกล้ำให้ชักช้าเสียเวลา
      ดังนั้น คำที่ถูกที่มีการใช้อย่างถูกต้อง คือ " กะทันหัน "พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายไว้ว่า
เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ทันใด ปัจจุบันทันด่วน จวนแจ.
.
.
.
.
ใส่ใจจำ นำคำไปใช้เป็น นะคะ ❤❤

ใช้อย่างไร จึงจะเหมาะสม✔



          ...บางคนอาจจะสับสนว่า การใช้คำว่า "ค่ะ" กับ "คะ" ใช้ต่างกันอย่างไร สำหรับภาษาพูด เราจะใช้การได้ถูกอยู่แล้ว แต่เวลาต้องเขียนที่เป็นเชิงวิชาการหรือพิมพ์สื่อสารกับบุคคลอื่นอาจจะมีการใช้ที่ไม่ถูกต้อง วันนี้เลยจะพาเพื่อนๆมาเรียนรู้วิธีการใช้ภาษาไทย คำว่า "ค่ะ" กับ "คะ" ให้ถูกต้องกันนะคะ 👰
          คำว่า "ค่ะ" (อักษรคู่เสียงต่ำ รูปวรรณยุกต์เอก เสียงวรรณยุกต์โท) เป็นคำลงท้ายสำหรับสตรีใช้ใน คำบอกเล่า หรือการตอบรับ เพื่อให้เกิดความสุภาพค่ะ เช่น "สวัสดีค่ะ" "ใช่ค่ะ 

          ส่วนคำว่า "คะ" (อักษรคู่เสียงต่ำ รูปวรรณยุกต์สามัญ เสียงวรรณยุกต์ตรี) ใช้ลงท้ายคำถาม หรือการแสดงความสงสัย หรือความไม่แน่ใจค่ะ เช่น "สบายดีไหมคะ?" "อาจารย์คะ" "ทานอะไรรึยังคะ?" 

          ส่วน "นะคะ" จะใช้กับประโยคบอกเล่าได้เหมือนกัน เช่น "ขอบคุณค่ะที่อุดหนุน" หรือ "ขอบคุณนะคะที่อุดหนุน

"ยินดีด้วยนะคะ" แต่คำว่า "น่ะคะ" หรือ "นะค่ะ" ที่คนชอบใช้กันผิดๆไม่มีในภาษาไทยนะคะ 
.
.
.
รักภาษาไทย ใช้ให้ถูก นะคะ ❤❤



👉ที่มาข้อมูล : banprak-nfe.com

ทำไม?ต้องเรียนภาษาไทย ✌


       ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพและเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน 💑 ทำให้สามารถประกอบกิจธุระ การงาน และดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมประชาธิปไตยได้อย่างสันติสุข และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ประสบการณ์จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่างๆ 🏧 เพื่อพัฒนาความรู้ พัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ สร้างสรรค์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ 🚅 เทคโนโลยี 🚥ตลอดจนนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ🚆 นอกจากนี้ยังเป็นสื่อแสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้านวัฒนธรรม ประเพณีและสุนทรียภาพ 🎷ป็นสมบัติล้ำค่าควรแก่การเรียนรู้ อนุรักษ์ และสืบสานให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป💃

เรียนรู้อะไร?ในภาษาไทย
      าษาไทยเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนจนเกิดความชำนาญในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อนำไปใช้ในชีวิตจริง
      • การอ่าน การอ่านออกเสียงคำ ประโยค การอ่านบทร้อยแก้ว คำประพันธ์ชนิดต่างๆ การอ่านในใจเพื่อสร้างความเข้าใจ และการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้จากสิ่งที่อ่าน เพื่อนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน 📖
      • การเขียน การเขียนสะกดคำตามอักขรวิธี การเขียนสื่อสารโดยใช้ถ้อยคำและรูปแบบต่างๆ ของการเขียน ซึ่งรวมถึงการเขียนเรียงความ ย่อความ รายงานชนิดต่างๆ การเขียนตามจินตนาการ วิเคราะห์วิจารณ์ และเขียนเชิงสร้างสรรค์ 
      • การฟัง การดู และการพูด การฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ การพูดแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก พูดลำดับเรื่องราวต่างๆ อย่างเป็นเหตุเป็นผล การพูดในโอกาสต่างๆ ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ และการพูดเพื่อโน้มน้าวใจ 👂 👀 👅 
      • หลักการใช้ภาษาไทย ธรรมชาติและกฎเกณฑ์ของภาษาไทย การใช้ภาษาให้ถูกต้องเหมาะสมกับโอกาสและบุคคล การแต่งบทประพันธ์ประเภทต่างๆ และอิทธิพลของภาษาต่างประเทศในภาษาไทย

      • วรรณคดีและวรรณกรรม วิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรมเพื่อศึกษาข้อมูล แนวความคิด คุณค่าของงานประพันธ์  และความเพลิดเพลิน การเรียนรู้และทำความเข้าใจบทเห่ บทร้องเล่นของเด็ก เพลงพื้นบ้านที่เป็นภูมิปัญญาที่มีคุณค่าของไทย ซึ่งได้ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี เรื่องราวของสังคมในอดีต และความงดงามของภาษา เพื่อให้เกิดความซาบซึ้งและภูมิใจในบรรพบุรุษที่ได้สั่งสมสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน❤❤
.
.

"รู้แล้วใช่มั้ย...ว่าทำไมเราต้องเรียนภาษาไทย
ฉะนั้นมาร่วมใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องกันนะคะ"❤❤





👉 ที่มาข้อมูล : ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

วันเสาร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560

ใช้ไทย เขียนไทย รักษ์ไทย ร่วมใจรณรงค์ นะคะ❤❤




     
วัดีค่ะ...👀 💋 📖  
        ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์เพื่อการแบ่งปันความรู้😍และแลกเปลี่ยนในการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง 
        ...การพูดให้ชัด💋 อ่านให้ถูก 📖 เขียนให้เป็น และนำไปใช้ให้ถูกต้องไม่ใช่เรื่องยาก เรามีการนำเสนอและรวบรวมเนื้อหาที่มีความหลากหลาย 
         ภาษาไทยไม่ได้น่าเบื่ออย่างที่คิด มาสนุกกับภาษาไทยไปด้วยกันนะคะ

   






มารู้จักกันก่อน👱
    นางสาวอาทิตย์ติยา อะโรคา
    เด็กๆเรียก ครูฝ้ายใจดี(มั้ง) ๕๕๕
    วัน อาทิตย์ ที่ ๑๒ เดือน ธันวาคม เดือน ๒๕๓๖ 
    กำลังศึกษาประกาศนียบัตร(วิชาชีพครู) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
                                                                      
ระดับการศึกษา📖
     ปริญญาตรี  ภาษาไทย ศิลปศาสตรบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ปัจจุบัน🕐
    ครูประจำวิชา ภาษาไทย สายมัธยม ๑-๓ โรงเรียนบ้านเมืองไผ่ ตำบลเมืองไผ่ อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ๓๑๑๖๐



ลองมาทำความรู้จัก แล้วจะ 💗 ภาษาไทย
.
.
.
😍😏😐😑😒😜😝😞😟😠😡😤😨😊😋😌😍😏😐😑😒😊😋😌
😍😏😐😑😒😜😝😞😟😠😡😤😨😩😪😯😰😵😊😋😌😍😏😐😑😒😊😋😌


                                                       












ใช้อย่างไรได้บ้าง! 👰

" คำไวพจน์ " จากคำทั้งหมดที่ปรากฏ เราเรียกว่า คำไวพจน์ หมายถึง คำที่มีรูปร่างต่างกัน แต่มีความหมายเหมือนกัน เช่น คำว...